วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2555

โรคถุงลมโป่งพอง



 โรคถุงลมโป่งพอง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตลำดับที่ 6 ของประชากรทั่วโลก ในปี ค.ศ.1990 (พ.ศ.2533) และเป็นลำดับที่ 5 ในปี ค.ศ.2001 (พ.ศ.2544) ซึ่งองค์การอนามัยโลก ประมาณการว่า ทั่วโลกมีผู้ป่วยเสียชีวิตจาก โรคถุงลมโป่งพอง ประมาณปีละ 3 ล้านคน และมีการคาดการณ์ว่า ในปี ค.ศ.2030 (พ.ศ.2573) โรคถุงลมโป่งพอง จะขยับขึ้นมาเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรโลกในลำดับที่ 4
 สำหรับในประเทศไทย โรคถุงลมโป่งพอง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตในลำดับต้น ๆ ของคนไทย ประมาณการว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วย โรคถุงลมโป่งพอง ประมาณปีละ 15,000 คน และในจำนวนผู้สูบบุหรี่ 10 ล้านคน จะมีผู้ป่วยด้วย โรคถุงลมโป่งพอง 1 ล้านคน ในจำนวนนี้ 3 แสนคน มีอาการชัดเจนที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง



โรคถุงลมโป่งพอง
 สำหรับสาเหตุการเกิด โรคถุงลมโป่งพอง ร้อยละ 90 มาจากการสูบบุหรี่ มีเพียงส่วนน้อยที่เป็นความผิดปกติแต่กำเนิดจากการขาดเอนไซม์ โดย โรคถุงลมโป่งพอง นี้ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงส่วนใหญ่จะเป็นผู้ติดบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสเป็น โรคถุงลมโป่งพอง ได้ทุกคน ต่างกันที่ช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการสูบบุหรี่ และปริมาณการตอบสนองของร่างกายต่อควันบุหรี่และพันธุกรรม เช่น โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ หรือบิดามารดาเป็นโรคนี้อยู่แล้ว ฯลฯ

สาเหตุของโรคถุงลมโป่งพอง
 โรคถุงลมโป่งพอง (Pulmonary Emphysema) เป็นโรคที่มีภาวะของการอุดกั้นอย่างเรื้อรังของหลอดลมทั่วปอดทั้ง 2 ข้าง โดยมีพยาธิสภาพเกิดขึ้นที่หลอดลมขนาดเล็กและที่ถุงลม โดยสาเหตุสำคัญของ โรคถุงลมโป่งพอง มาจากการสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน โดยสารมลพิษในควันบุหรี่หลายชนิดจะก่อการระคายเคืองต่อหลอดลมและทำลายผนังถุงลม ทำให้เนื้อเยื่อซึ่งโยงยึดหลอดลมและถุงลมเสื่อมลง หลอดลมเล็ก ๆ ขาดการยึดโยงที่ดีจึงแฟบตัวได้ง่าย เกิดการอุดกั้นของอากาศที่ผ่านหลอดลม โดยเฉพาะในจังหวะของการหายใจออก ทำให้มีลมค้างอยู่ในถุงลมมากขึ้น หรือ เรียกว่า " ถุงลมโป่งพอง " และการที่มีลมค้างอยู่ในถุงลม ทำให้ผู้ป่วยสูดหายใจเข้าได้ไม่เต็มที่ และเกิดอาการเหนื่อยหอบ อีกทั้งควันบุหรี่ที่ระคายเคืองหลอดลมอยู่นาน ๆ จะทำให้ผนังหลอดลมอักเสบและหนาขึ้น มีเสมหะมากขึ้น
       โรคถุงลมโป่งพอง เป็นหนึ่งในอาการของ "โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง" ซึ่งรวมเอา "โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง" (Chronic Bronchitis) และ "โรคถุงลมปอดโป่งพอง" (Pulmonary Emphysema) เข้าด้วยกัน เนื่องจากโรคทั้งสองเกิดจากการหายใจเอามลภาวะที่เป็นพิษ ในรูปของก๊าซหรือฝุ่น อย่างเช่นควันบุหรี่ และควันจากการเผาไหม้เข้าไปก่อให้เกิดอาการอักเสบ และการทำลายระบบทางเดินหายใจ ซึ่งได้แก่ หลอดลม และปอดเหมือนกัน อีกทั้งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการของโรคทั้งสองร่วมกัน ต่างกันตรงที่อาจมีอาการของโรคหนึ่งมากกว่ามีผู้ป่วยน้อยรายที่มีเพียงอาการเดียว

อาการของโรคถุงลมโป่งพอง
          ผู้ที่เป็น โรคถุงลมโป่งพอง ในขั้นต้นจะไม่ค่อยปรากฎอาการมากนั้น โดยมีอาการทั่วไปคือ ไอเรื้อรัง มีเสมหะ เป็นหวัดง่าย เหนื่อย คออักเสบ หลอดลมอักเสบบ่อย ๆ และหายยาก ต่อมาจะหอบเหนื่อย เพราะได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ หายใจมีเสียง หายใจลำบาก เพราะหลอดลมตีบขึ้น อาการจะมากขึ้นตามการเสื่อมของถุงลมในปอด

          ในรายที่เป็นมากจะมีอาการหอบเหนื่อยมาก จนไม่สามารถทำงาน เดิน หรือใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ต้องนอนพักให้ออกซิเจนตลอดเวลา เพราะมีภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ สร้างความทุกข์ทรมานให้ผู้ป่วยเป็นอย่างยิ่ง รวมทั้งญาติพี่น้องและผู้พบเห็นต้องทุกข์ใจเช่นกัน อาการหอบเหนื่อยที่มีอยู่ตลอดเวลาจะสร้างความทุกข์ทรมานให้ผู้ป่วยจนกว่าจะเสียชีวิต และผู้ป่วย โรคถุงลมโป่งพอง เหล่านี้จะเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม ภาวะการหายใจวายและภาวะหัวใจวาย

โรคถุงลมโป่งพอง มีการดำเนินโรคอยู่ 4 ขั้น คือ

           ขั้นที่ 1 เป็นขั้นที่มีปัจจัยเสี่ยงและเริ่มมีการอุดกั้นของหลอดลมเล็ก ๆ ซึ่งเป็นระยะที่ผู้ป่วยยังไม่มีอาการ และพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในหลอดลมเล็ก ๆ เหล่านั้น สามารถกลับคืนสู่ปกติได้เมื่อหยุดบุหรี่สำเร็จ

           ขั้นที่ 2 มีการอุดกั้นของหลอดลมและความเสื่อมของถุงลมชัดเจน โดยทราบได้จากการตรวจสมรรถภาพปอด ในขั้นนี้ผู้ป่วยจะมีอาการไอและเหนื่อยไม่มาก

          ขั้นที่ 3 ผู้ป่วยจะมีอาการไอและเหนื่อยมากขึ้น ผลการตรวจสมรรถภาพปอดเสื่อมลงอีก

          และขั้นที่ 4 ผู้ป่วย โรคถุงลมโป่งพอง จะมีการเสื่อมของหลอดลมและถุงลมมาก มีภาวะการหายใจวายและหัวใจวายเกิดขึ้น ระยะนี้ผู้ป่วย โรคถุงลมโป่งพอง จำเป็นต้องพึ่งออกซิเจน

การรักษาโรคถุงลมโป่งพอง
          ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาใดที่สามารถทำให้ โรคถุงลมโป่งพอง หายได้ แต่การใช้ยาจะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นและปอดถูกทำลายช้าลง โดยยาที่รักษา โรคถุงลมโป่งพอง คือ

ยาขยายหลอดลม

          มีทั้งชนิดกิน ฉีด และพ่น ปัจจุบันนิยมใช้ยาพ่นที่ออกฤทธิ์นาน ส่วนยาพ่นชนิดออกฤทธิ์เร็วมักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยเริ่มหอบ

ยาสเตียรอยด์

          มักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วย โรคถุงลมโป่งพอง มีอาการรุนแรง หรือมีอาการหลอดลมอักเสบร่วมด้วย เพราะยาสเตียรอยด์ออกฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ดี แต่ไม่นิยมใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพราะมีผลข้างเคียงมาก ปัจจุบันนิยมใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดพ่นมากกว่าชนิดรับประทานหรือฉีด

ยาปฏิชีวนะ

          จะใช้กรณีพบว่ามีการอักเสบติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ พบการอักเสบของหลอดลม โดยผู้ป่วยจะไอมีเสมหะมากขึ้น และเสมหะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเหลือง หรือสีเขียว หรือเป็นหนอง

ยาละลายเสมหะ

          ใช้เมื่อมีเสมหะเหนียว และมีเสมหะมาก ผู้ป่วยควรทานน้ำให้มากขึ้น เพราะน้ำเป็นตัวละลายความเหนียวของเสมหะได้ดีที่สุด

การป้องกันโรคถุงลมโป่งพอง
          โรคถุงลมโป่งพอง สามารถป้องกันได้ด้วยการงดสูบบุหรี่ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการทำงาน และการเข้าไปอยู่ในบริเวณที่มีควันพิษ หรือในที่ที่มีผู้สูบบุหรี่ และแม้ว่า โรคถุงลมโป่งพอง นี้ จะทำให้เกิดโรคเมื่อมีอายุมากก็ตาม แต่ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคควรรับการตรวจสมรรถภาพปอด เพราะหากตรวจพบ โรคถุงลมโป่งพอง ในระยะเริ่มแรกก็อาจหลีกเลี่ยง หรือป้องกันได้

วันรณรงค์ถุงลมโป่งพองโลก
          องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) และองค์การโรคถุงลมโป่งพองแห่งโลก (Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease-GOLD) ได้กำหนดให้มี วันรณรงค์ถุงลมโป่งพองโลก หรือ World COPD Day ซึ่งตรงกับวันพุธที่ 2 ของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี โดยวันถุงลมโป่งพองโลก เริ่มขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ.2002 (พ.ศ.2545) โดยมีจุดประสงค์ในการกำหนด วันรณรงค์ถุงลมโป่งพองโลก เพื่อกระตุ้นเตือนให้บุคลากรทางการแพทย์ และการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักว่า โรคถุงลมโป่งพอง เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศที่สำคัญโรคหนึ่ง อันเนื่องมาจากการสูบบุหรี่ ผู้ป่วยด้วย โรคถุงลมโป่งพอง นี้ต้องทุกข์ทรมานจากอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย และหายใจลำบาก เนื่องจากความเสื่อมของถุงลมและปอด ซึ่งควรจะได้รับการดูแลรักษาเพื่อให้มีคุณภาพ

          นอกจากนี้เป็นการกระตุ้นให้ประชาชนตระหนัก และรับรู้พิษภัยของการสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิด โรคถุงลมโป่งพอง         

โรคมะเร็งปอด



มะเร็งปอด
โรคมะเร็งปอดเป็นโรคที่เกิดจากเซลล์ของปอด เช่น เนื้อปอด หลอดลมกลายเป็นเซลล์มะเร็ง โรคมะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่พบบ่อย หากตรวจพบเร็วสามารถรักษาให้หายขาดได้
มะเร็งคืออะไร
ร่างกายประกอบด้วยเซลล์เป็นจำนวนมาก ปกติเซลล์จะแบ่งตัวตามความต้องการของร่างกาย เช่น มีการผลิตเม็ดเลือดแดงเพิ่มเมื่อมีการเสียเลือด มีการผลิตเม็ดเลือดข้าวเพิ่มเมื่อมีการติดเชื้อ เป็นต้น แต่มีเซลล์ที่แบ่งตัวโดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ทำให้เกิดเป็นเนื้องอก ซึ่งแบ่งเป็น Benignและ Malignant
  • Benign tumor คือเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งสามารถตัดออกและไม่กลับเป็นใหม่ และที่สำคัญไม่สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น
  • Malignant tumor เซลล์จะแบ่งตัวทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะใกล้เคียง ที่สำคัญสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นที่อยู่ไกลโดยไปตามกระแสเลือด และน้ำเหลืองเรียกว่า Metastasis
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด ส่วนใหญ่พบร่วมกับการสูบบุหรี่
  • สูบบุหรี่ จำนวนปีที่สูบ อายุที่เริ่มสูบ จำนวนบุหรี่ที่สูบ สูบแต่ละครั้งลึกแค่ไหน ทั้งหมดเป็นปัจจัยที่จะทำให้มีโอกาสเกิดมะเร็งปอด
  • สูบ cigars และ pipes
  • ผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมของผู้สูบบุหรี่
  • สัมผัสสาร Randon เป็นแก็สที่ไม่มีกลิ่น ซึ่งพบได้ตามดินและหิน ผู้ป่วยทีทำงานเหมืองจะมีโอกาสเสี่ยง
  • ใยหิน Asbestos ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับเหมืองใยหินมีโอกาสเสี่ยงต่อมะเร็งปอด
  • ควันจากการเผาไหม้น้ำมัน และถ่านหิน
  • โรคปอด โดยเฉพาะวัณโรคมะเร็งจะเกิดบริเวณที่เป็นแผลเป็นวัณโรค
  • ผู้เคยเป็นมะเร็งปอดจะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดสูงกว่าคนปกติ
อาการของมะเร็งปอด อาการที่พบบ่อยมีดังนี้
  • ไอเป็นมากขึ้นเรื่อย
  • เจ็บแน่นหน้าอก
  • ไอเสมหะมีเลือดปน
  • หายใจเหนื่อย เสียงแหบ
  • เป็นปอดบวมหรือปอดอักเสบบ่อย
  • หน้าและคอบวม
  • อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
การวินิจฉัย






แพทย์กำลังส่องกล้อง
กล้อง Brochoscope


เมื่อแพทย์สงสัยแพทย์จะซักประวัติครอบครัว ปัจจัยเสี่ยงต่างๆและส่ง x-ray ปอด ส่งเสมหะตรวจหาเซลล์มะเร็ง
 การวินิจฉัยที่แม่นยำที่สุดคือการได้ชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิโดยพยาธิแพทย์วิธีการได้ชิ้นเนื้อมีหลายวิธีดังนี้
  1. Brochoscopy คือการส่องกล้องเข้าทางปาก ลงหลอดลม และเข้าปอดเพื่อตัดชิ้นเนื้อ<
  2. Needle aspiration คือใช้เข็มเจาะผ่านผนังทรวงอกเข้าปอด และเข้าเนื้อร้ายแล้วดูดเอาชิ้นเนื้อส่งตรวจ<
  3. Thoracenthesis คือใช้เข็มเจาะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดส่งตรวจหาเซลล์มะเร็ง
  4. Thoracotomy คือผ่าเข้าในทรวงอกและตัดเนื้อร้ายออก
หลังจากทราบว่าเป็นมะเร็งแพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเพื่อจะทราบว่ามะเร็งแพร่กระจายหรือยังโดยการตรวจดังนี้
  • CAT [Computed tomography] เป็นการ x-ray computer เพื่อดูว่ามะเร็งแพร่กระจายหรือยัง
  • MRI [magnetic resonance imaging] ใช้คลื่นแม่เหล็กตรวจ
  • Scan โดยใช้สารอาบรังสีฉีดเข้ากระแสเลือดและวัดรังสีที่อวัยวะนั้น เช่น ตับ กระดูก
  • Mediastinoscopy เป็นการส่องเข้าในช่องอกเพื่อดูว่ามะเร็งแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองหรือยัง
การรักษา
  1. การผ่าตัด แพทย์จะผ่าเอาเนื้อร้ายออกบางครั้งอาจต้องตัดปอดออกบางกลีบ lobectomy หรือตัดทั้งปอด pneumectomy
  2. เคมีบำบัด การให้สารเคมีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง แม้ว่าจะได้รับการผ่าตัดไปแล้วอาจมีมะเร็งบางส่วนหลงเหลือจึงให้เคมีบำบัดเพื่อทำลายส่วนที่เหลือ
  3. รังสีรักษา อาจให้ก่อนผ่าตัดเพื่อลดขนาดของมะเร็ง แพทย์อาจให้เคมีบำบัดร่วมกับรังสีรักษา
  4. Photodynamic therapy โดยการฉีดสารเคมีเข้าเส้นเลือด สารนั้นจะอยู่ที่เซลล์มะเร็งแล้วใช้ laserเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง
มะเร็งปอดมีกี่ชนิด เราแบ่งเป็นชนิดใหญ่ๆ 2 ชนิด
  1. non-small cell lung cancer พบบ่อย โตช้ามี 3 ชนิด



squamous cell carcinoma

adenocarcinoma

large cell carcinoma


  1. Small cell carcinoma หรือที่เรียก oat cell cancer พบน้อยแต่แพร่กระจายเร็ว
การรักษา non-small cell lung cancer
แพทย์จะเลือกการผ่าตัด และให้รังสีร่วมกับเคมีบำบัดเพื่อหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
การรักษา small cell lung cancer
แพทย์จะเลือกให้เคมีรักษาร่วมกับการผ่าตัด และอาจให้รังสีรักษาแม้ว่าจะตรวจไม่พบว่ามีการแพร่กระจาย

บุหรี่





บุหรี่ มีลักษณะเป็นทรงกระบอกม้วนห่อด้วยกระดาษ (ขนาดปกติจะมีความยาวสั้นกว่า 120 มิลลิเมตร และ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 10 มิลลิเมตร) มีใบยาสูบบดหรือซอยบรรจุภายในห่อกระดาษ ปลายด้านหนึ่งเป็นปลายเปิดสำหรับจุดไฟ และอีกด้านหนึ่งจะมีตัวกรอง ไว้สำหรับใช้ปากสูดควัน คำนี้ปกติจะใช้หมายถึงเฉพาะที่บรรจุใบยาสูบภายใน แต่ในบางครั้งก็อาจใช้หมายถึงมวนกระดาษที่บรรจุสมุนไพรอื่น ๆ



สาเหตุที่ทำให้ติดบุหรี่
  • ทำตามเพื่อน เพราะเห็นเพื่อน ๆ บางคนสูบโดยอ้างว่าเพื่อจะเข้าสังคมกับเพื่อนได้
  • สภาพแวดล้อมภายในครอบครัวชักนำ เกิดจากสมาชิกบางคนในครอบครัวสูบบุหรี่ เช่น พ่อ แม่ ลุง น้า จึงต้องการเอาอย่างบ้าง
  • ความอยากทดลอง เพราะอยากรู้อยากเห็น
  • ยึดถือค่านิยมผิด ๆ คิดว่าการสูบบุหรี่เป็นการโก้เก๋ หรือเป็นลูกผู้ชาย
  • อิทธิพลจากการโฆษณาของสื่อมวลชน ทั้งจากภาพยนตร์ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์
  • ความเชื้อที่ผิดๆ เช่น เชื่อว่าเมื่อสูบบุหรี่จะทำให้สมองปลอดโปร่ง จิตใจเเจ่มใส




        พิษจากควันบุหรี่
1)  นิโคติน(Nicotine)เป็นสารระเหยในควันบุหรี่ และเป็นสารที่รุนแรงมากที่สุดอย่าง นิโคติน จะทำให้ไขมันในเส้นเลือดเพิ่มขึ้น เส้นเลือดหัวใจตีบและเกิดโรคหัวใจขาดเลือดหล่อเลี้ยง ทำให้ความดันสูง หัวใจเต้นเร็วทำลายเนื้อปอดและถุงลมปอดอีกด้วย
2)  ทาร์(Tar)เป็นคราบมันข้นเหนียว สีน้ำตาลแก่ เกิดจากการเผาไหม้ของกระดาษและใบยาสูบ
โทษของบุหรี่
  • โรคมะเร็งปอด เกิดจากสารมีพิษในบุหรี่ คือ" ทาร์ " อัตราการตายด้วยโรคมะเร็งปอดในผู้ที่สูบบุหรี่
  • โรคหัวใจ และหลอดเลือด เกิดจาก สารนิโคตินในบุหรี่ ซึ่งเป็นสารที่มีพิษ และเป็นอันตรายต่อ หัวใจ หลอดเลือด กระเพาะอาหาร ลำไส้
  • โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และถุงลมโป่งพอง เป็นโรคที่พบบ่อยมากในผู้ชายมากว่าผู้หญิง และสาเหตุสำคัญที่สุดของการเกิดโรคนี้ก็คือ การสูบบุหรี่ ผู้ป่วยจะมีอาการไอเรื้อรัง
  •  โรคแผลในกระเพาะอาหาร การสูบบุหรี่ทำให้มีภาวะไม่สมดุลในการหลั่งของกรด และด่างในกระเพาะ
  •  ผลร้ายต่อเด็กในครรภ์ และทารก มารดาที่สูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์มีผลต่อเด็กทารก

      ข้อดีของการเลิกบุหรี่
  • สุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น อายุยืน
  • การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น
  • การทำงานในการรับรสและกลิ่นดีขึ้น
  • อาการไอ และเสมหะลดลง
  • สมรรถภาพทางเพศดีขึ้น
  • ปอดทำงานได้ดีขึ้น
  • ภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น
  • ลดการเกิดมะเร็งปอด
  • ระบบทางเดินอาหารดีขึ้น